แหล่งโบราณคดี

๑. แหล่งโบราณคดีโนนพร้าว
ตั้งอยู่ที่บ้านกุดคอเมย ตำบลกุดดู่ จังหวัดหนองบัวลำภู ตำแหน่งตามแผนที่ทหาร คือมาตราส่วน ๑:๕๐,๐๐๐ ลำดับชุด L ๗๐๑๗ ระหว่าง ๕๔๔๒ IV Latitude ๑๖ องศา ๕๗ ลิปดา ๑๐ ฟิลิปดาเหนือ Longitude ๑๐๒ องศา ๓๘ ลิปดา ๓๘ ฟิลิปดาตะวันออก กรมศิลปากรได้ทำการสำรวจเมื่อ พ.ศ.๒๕๒๔ และทำการ ขุดค้นเมื่อ พ.ศ.๒๕๓๖ ลักษณะของโบราณสถาน มีลักษณะเป็นเนินดินขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ๑๕๐ เมตร สูงประมาณ ๒ เมตร จากที่ราบโดยรอบ พบหลักฐาน ต่อเนื่องตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ทวารวดีและล้านช้าง และจากการศึกษาเปรียบเทียบโบราณวัตถุกับแหล่งโบราณคดีใกล้เคียง สามารถกำหนดอายุประมาณ ๒,๕๐๐ ปีมาแล้ว และโบราณวัตถุวัฒนธรรมล้านช้างประมาณพุทธศตวรรษที่ ๒๓ – ๒๔

๒. แหล่งโบราณคดีโนนดอนกลาง (โนนป่ากล้วย)
ตั้งอยู่ที่บ้านกุดกวางสร้อย ตำบลบ้านถิ่น อำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู ตำแหน่งตามแผนที่ทหาร คือ มาตราส่วน ๑: ๕๐,๐๐๐ ลำดับชุด L๗๐๑๗ ๕๔๔๒ IV Latitude ๑๖ องศา ๕๗ ลิปดา ๔๐ ฟิลิปดาเหนือ Longitude ๑๐๒ องศา ๓๗ ลิปดา ๑๕ ฟิลิปดาตะวันออก ประวัติการขุดค้นนายวิลเลี่ยม โซฟเฟลอร์ ขออนุญาต กรมศิลปากร ขุดค้นเมื่อ พ.ศ.๒๕๑๗ หน่วยศิลปากรที่ ๗ ขอนแก่น ขุดค้นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๖ สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติที ๗ ขอนแก่นร่วมกับ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดหนองบัวลำภู สำรวจเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๐ ลักษณะของโบราณสถาน เนินดินขนาด ๑๕๕ X ๒๐๐ เมตร สูงประมาณ ๒- ๓ เมตร จากที่ราบ โดยรอบพบหลักฐานต่อเนื่องตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ทวารวดีและล้านช้างผลจากการขุดค้นสามารถกำหนดอายุ ๒,๕๐๐ ปีมาแล้ว และหลักฐานทางโบราณคดี ล้านช้าง อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๒๓ – ๒๔

๓. แหล่งโบราณคดีโนนสัง
ตั้งอยู่ที่บ้านกุดคอเมย ตำบลกุดดู่ อำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู ตำแหน่งตามแผนที่ทหาร คือ มาตราส่วน ๑: ๕๐,๐๐๐ ลำดับชุด L ๗๐๑๗ ระหว่าง ๕๔๔๒ IV Latitude ๑๖ องศา ๑๗ ๐๖ ฟิลิปดาเหนือ Longitude ๑๐๒ องศา ๒๓ ลิปดา ๐๕ ฟิลิปดาตะวันออก ประวัตติการขุดค้นโครงการโบราณคดีประเทศไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) สำรวจเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๔ ลักษณะโบราณสถาน เป็นเนินดินที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๑๕๐ เมตร ซึ่งพบหลักฐานทางโบราณคดี สมัยก่อนประวัติศาสตร์ หลักฐานที่พบได้แก่ โครงกระดูกมนุษย์ ภาชนะดินเผาทั้งแบบเรียบและแบบแตกต่างการเขียนสีและวาดลวดลาย ต่างๆ แวดินเผา หินบดยา เครื่องมือเหล็ก และเครื่องประดับสำริด อายุประมาณ ๒,๕๐๐ ปีมาแล้ว

๔. แหล่งโบราณคดี ถ้ำเสือตก
ตั้งอยู่ที่บ้านวังมน ตำบลโคกม่วง อำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู ตำแหน่งตามแผนที่ทหาร คือ มาตราส่วน ๑: ๕๐,๐๐๐ ลำดับชุด L ๗๐๑๗ ระหว่าง ๕๔๔๒ IV Latitude ๑๖ องศา ๕๕ ลิปดา ๐๐ ฟิลิปดาเหนือ Longitude ๑๐๒ องศา ๒๘ ลิปดา ๐๕ ฟิลิปดาตะวันออก ประวัติการขุดค้น โครงการโบราณคดีประเทศไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) สำรวจเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๘ ลักษณะทางโบราณคดี ภาพเขียนทางสีเป็นลายลายเส้นและภาพมือ รวมทั้งภาพสลักเป็นภาพลายเส้น สันนิษฐานว่าเขียนและสลักขึ้นสมัยก่อนประวัติศาสตร์

๕. แหล่งโบราณคดี ถ้ำจันได
ตั้งอยู่ที่บ้านวังมน ตำบลโคกม่วง อำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู ตำแหน่งตามแผนที่ทหาร คือ มาตราส่วน ๑: ๕๐,๐๐๐ ลำดับชุด L ๗๐๑๗ ระหว่าง ๕๔๔๒ IV Latitude ๑๖ องศา ๔๖ ลิปดา ๐๖ ฟิลิปดาเหนือ Longitude ๑๐๒ องศา ๒๘ ลิปดา ๐๐ ฟิลิปดาตะวันออก ประวัติการขุดค้น โครงการโบราณคดีประเทศไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) สำรวจเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๘ลักษณะทางโบราณคดี มีลักษณะเป็นก้อนหินรูปทรงสามเหลี่ยมที่มีภาพเขียนสีบนพื้นผิวหิน ลักษณะปลีกย่อย ภาพเขียนสีด้วยสีแดงแบบเงาทึบ เป็นภาพคล้ายหมีและภาพต้นข้าวสันนิษฐานว่าเขียนขึ้นในสมัยก่อนประวัติศาสตร์

๖. แหล่งโบราณคดี ถ้ำพลานไฮ
ตั้งอยู่ที่บ้านวังมน ตำบลโคกม่วง อำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู ตำแหน่งตามแผนที่ทหาร คือ มาตราส่วน ๑: ๕๐,๐๐๐ ลำดับชุด L ๗๐๑๗ ระหว่าง ๕๔๔๒ IV Latitude ๑๖ องศา ๕๕ ลิปดา ๐๐ ฟิลิปดาเหนือ Longitude ๑๐๒ องศา ๒๗ ลิปดา ๐๐ ฟิลิปดาตะวันออก ประวัติการขุดค้น คณะโบราณคดีมหาวิทยาลัย ศิลปากร สำรวจเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๓ ลักษณะทางโบราณสถานเพิงหินที่มีภาพเขียนผนังหินจำนวน ๓ จุด ลักษณะปลีกย่อย ภาพสีเป็นภาพมือทาบ และภาพลายเส้น สันนิษฐานว่าเขียนขึ้นสมัยก่อนประวัติศาสตร์

๗. แหล่งโบราณคดี ถ้ำอาจารย์สิม
ตั้งอยู่ที่ วัดพระพุทธบาทภูเก้า เขาศิริวงกต บ้านดกบาก ตำบลนิคมพัฒนา อำเภอโนนสัง จ.หนองบัวลำภู ตำแหน่งตามแผนที่ทหาร คือ มาตราส่วน ๑:๕๐,๐๐๐ ลำดับชุด L ๗๐๑๗ ระหว่าง ๕๔๔๒ IV Latitude ๑๖ องศา ๕๔ ลิปดา ๑๒ ฟิลิปดาเหนือ Longitude ๑๐๒ องศา ๒๘ ลิปดา ๐๑ ฟิลิปดาตะวันออก ประวัติการ ขุดค้น คณะโบราณคดีมหาวิทยาลัยศิลปากร สำรวจเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๒ สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ ๗ ขอนแก่น สำรวจเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๐ ลักษณะทรงโบราณสถาน เป็นเพิงหินริมหน้าผาที่มีภาพเขียนสีบนผนังหิน ลักษณะปลีกย่อย ภาพเขียนสีแบบลายเส้นโครงร่างภายนอก เป็นภาพคล้ายคนและ ภาพคล้ายปลา สันนิษฐานว่าเขียนขึ้นในสมัยก่อนประวัติศาสตร์

๘. แหล่งโบราณคดี ถ้ำมึ้ม
ตั้งอยู่ที่ วัดพระพุทธบาทภูเก้า เขาศิริวงกต บ้านดกบาก ตำบลนิคมพัฒนา อำเภอโนนสัง จ.หนองบัวลำภู ตำแหน่งตามแผนที่ทหาร คือ มาตราส่วน ๑: ๕๐,๐๐๐ ลำดับชุด L ๗๐๑๗ ระหว่าง ๕๔๔๒ IV Latitude ๑๖ องศา ๕๔ ลิปดา ๓๒ ฟิลิปดาเหนือ Longitude ๑๐๒ องศา ๒๘ ลิปดา ๐๐ ฟิลิปดาตะวันออก ประวัติการ ขุดค้นกองโบราณคดี กรมศิลปากร ร่วมกับมหาวิทยาลัยฮาวาย สำรวจเมื่อ พ.ศ.๒๕๑๒ ลักษณะทางโบราณสถาน เป็นถ้ำลึกประมาณ ๔ เมตร ปากถ้ำกว้าง ๘ เมตร ตรงเพดานถ้ำ มีภาพเขียนสีและภาพสลักปะปนกัน ลักษณะปลีกย่อย ภาพเขียนและภาพสลักดังกล่าวเป็นภาพลายเส้น และภาพรูปทรงเรขาคณิต สันนิษฐาน ว่าเขียนขึ้นในสมัยก่อนประวัติศาสตร์

อ้างอิงhttp://nongbualamphu.go.th/web/data/culture/culture.htm

ใส่ความเห็น