พิธีกรรม

           islam-wedding

1.พิธีสังสการ

เป็นพิธีกรรมที่คนในวรรณะกษัตริย์ วรรณะพราหมณ์และวรรณะไวศยะจะต้องทาโดยมีพราหมณ์หรือนักบวชเป็นผู้ทำพิธี จำนวน 12 ประการ คือ
1) ครรภาธาน เป็นพิธีที่จัดขึ้นเมื่อทราบว่าตั้งครรภ์ ถัดจากวันวิวาห์

2) ปุงสวัน เป็นพิธีปฏิบัติต่อเด็กในครรภ์ที่เข้าใจว่าเป็นเพศชาย

3) สีมันโตนยัน เป็นพิธีตัดผมหญิงมีครรภ์ เมื่อตั้งครรภ์ได้ 4, 6 หรือ 8 เดือน

4) ชาตกรรม พิธีคลอดบุตร

5) นามกรรม พิธีตั้งชื่อเด็ก ในวันที่ 12 หรือ 14 ถัดจากวันคลอด

6) นิษกรมณ พิธีนาเด็กออกไปดูแสงอาทิตย์ยามเช้า เมื่ออายุได้ 4 เดือน

7) อันนปราศัน พิธีป้อนข้าวเด็ก เมื่ออายุได้ 7 เดือนหรือ 8 เดือน

8) จูฑากรรม พิธีโกนผมไว้จุก เมื่ออายุได้ 3 ขวบ

9) เกศานตกรรม พิธีตัดผม ถ้าเป็นวรรณะพราหมณ์ตัดเมื่ออายุ 16 ปี ถ้าวรรณะกษัตริย์ ตัดเมื่ออายุ 22 ปี ถ้าวรรณะพราหมณ์ตัดเมื่ออายุ 24 ปี

10) อุปานยัน พิธีเข้ารับการศึกษา พวกวรรณะพราหมณ์ กษัตริย์ แพศย์ จะต้องทาพิธีเข้ารับการศึกษา และเมื่ออาจารย์ในสานักนั้นๆ รับเด็กไว้แล้วก็จะสวมสายธุรา หรือยัชโญปวีต ผู้ที่ได้สวมสายนี้แล้วก็เรียก ว่า ทวิชหรือทิชาชาติ ได้แก่ เกิด 2 ครั้ง คือครั้งแรกเกิดจากครรภ์มารดา และครั้งที่ 2 เกิดจากการสวมสายยัชโญปวีต ส่วนพวกศูทรและจัณฑาลเป็นเอกชาติ คือ เกิดครั้งเดียวไม่อาจเป็นทวิชาติได้

11) สมาวรรตน์ พิธีกลับบ้าน จัดขึ้นเมื่อเด็กหนุ่มสาเร็จการศึกษาและเตรียมตัวกลับบ้าน

12) วิวาหะ พิธีแต่งงาน
พิธีสังสการทั้ง 12 ประการ ถ้าเป็นผู้หญิงห้ามทาพิธีอุปานยันอย่างเดียว นอกนั้นทาได้หมด และห้ามสวดคัมภีร์พระเวท เพราะเป็นคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ที่สงวนเฉพาะผู้ชาย และคนบางวรรณะเท่านั้น

dscf0118 (1)

2.พิธีศราทซ์

เป็นพิธีทาบุญอุทิศให้มารดาบิดา หรือบรรพบุรุษผู้ล่วงลับไปแล้ว ในเดือน 10ตั้งแต่วันแรม 1ค่า ถึงวันแรม 15 ค่า การทาบุญอุทิศนี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า บิณฑะ

little_brahmin_08

3.พิธีบูชาเทวดาหรือบูชาเทพเจ้า

ผู้ที่เกิดในวรรณะสูงสมัยก่อนได้บูชาพระศิวะและพระวิษณุ เป็นต้น เวลาต่อมาเกิดลัทธิอวตารขึ้น มีการบูชาพระกฤษณะและพระรามขึ้นอีก แต่บุคคลในวรรณะต่ามักถูกกีดกันมิให้ร่วมบูชาเทพเจ้าของบุคคลในวรรณะสูง ดังนั้น บุคคลในวรรณะต่าจึงต้องสร้างเทพเจ้าของตนเองขึ้น เช่น เจ้าแม่กาลี เทพลิง เทพงู เทพเต่า รุกขเทพ เทพช้าง เป็นต้น การทาพิธีบูชานั้นก็มีความแตกต่างกันออกไปตามวรรณะ แต่บุคคลในวรรณะสูงมีพิธีในการบูชาพอจะกาหนดได้ ดังนี้

1) สวดมนต์ภาวนา สนานกาย ชาระและสังเวยเทวดาทุกวัน สาหรับผู้เคร่งครัดในศาสนาต้องทาเป็นกิจวัตร ส่วนพวกที่ได้รับการศึกษาแผนใหม่มักไม่ค่อยปฏิบัติกัน

2) พิธีสมโภช ถือศีล และวันศักดิ์สิทธิ์ เช่น ลักษมีบูชา วันบูชาเจ้าแม่ลักษมี สรัสวดีบูชา วันบูชาเจ้าแม่สรัสวดี ทุรคาบูชา วันบูชาเจ้าแม่ทุรคา เป็นต้น ซึ่งอาจแตกต่างกันออกไปในแต่ละนิกายและท้องถิ่น

3) การไปนมัสการบาเพ็ญกุศลตามเทวาลัยต่างๆ เพื่อแสดงความเคารพเทพเจ้าที่ตนนับถือ

 

 

Graphiclineflower32

อ้างอิง 1 https://suwannee1111.files.wordpress.com/

อ้างอิง 2 https://romantic02.wordpress.com/